วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 4

facebook มาแรง!! ทำโจ๋ไทย เมินท่องตำราน้อยลง

หากถามถึง facebook หรือ twitter คงไม่มีหนุ่มสาววัยทีนคนไหนไม่รู้จัก ผิดกับการถามถึงหนังสือ นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี ที่พวกเขาอาจจะต้องส่ายหัว ทำหน้าตาซีเรียส อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน ด้วยเหตุผลที่ว่า ปัจจุบันนี้พฤติกรรมของวัยรุ่นสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยสังคมโลกออนไลน์ บวกกับความน่าสนใจของหนังสือมีน้อยลง แถมราคาแพงมากขึ้นเป็นทวีคูณ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากพวกเขาเกิดจากการหลงใหลไปกับสื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ จนหลงลืมการอ่านหนังสือ ทั้งที่ “การอ่าน” เป็นหนึ่งกระบวนการพัฒนาความคิด สติปัญญา และอารมณ์เด็กไทยสมัยนี้
“กิม” ปิยะพร ศรีเจริญ นิสิตชั้นปี 3 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หนึ่งในเยาวชนไทยที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ยังคงชื่นชอบและเก็บสะสมหนังสือไว้เป็นจำนวนมาก “ถือว่าโชคดีที่ครอบครัวสนับสนุนให้เป็นคนรักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก จนถึงมัธยมปลาย พอจะมีกำลังซื้อหนังสือด้วยตัวเอง โดยไม่รบกวนค่าขนมเพิ่มเติมจากคุณพ่อ คุณแม่ ส่วนใหญ่หนังสือที่ชอบอ่านจะเป็น การตูน นิยาย วรรณกรรม เพราะทำให้เราได้คลายเครียด อย่างไม่จำกัดเวลา อยากจะอ่านตอนไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้"

หากถามถึงคุณภาพและราคาหนังสือในปัจจุบันนั้นเป็นอย่างไร กิม บอกว่า คุณภาพหนังสือนั้นขึ้นอยู่กับประเภทหนังสือที่เราชื่นชอบ อ่านแล้วสนุกไหม รูปเล่ม น่าอ่าน น่าติดตามหรือเปล่า แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ ราคาหนังสือ "เมื่อก่อนพกเงินมา 1,000 บาท ซื้อหนังสือได้มากถึง 3-4 เล่ม แต่เดี๋ยวนี้ได้ซื้อแค่ 1-2 เล่มเท่านั้น หนังสือแพงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เวลาที่เราอยากจะอ่านหนังสือที่ชอบขึ้นมาจริงๆ ต้องตัดใจไม่ซื้อ ส่งผลให้เพื่อนบางคนที่ชอบอ่านหนังสือเหมือนอย่างเรา หันไปหาสิ่งๆ อื่นที่ช่วยให้หายเครียด อย่าง เกมส์ออนไลน์ ,hi5 , face book แทนที่การอ่านหนังสือ เพราะการสื่อสารในโลกออนไลน์ ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างได้มากกว่าในหนังสือเสียอีก"
สำหรับพี่ใหญ่ อย่าง “แนน” นัทธมน คำประดิษฐ์ นักศึกษาปริญญาโท จาก มหาวิทยาลัยศิลปกร เผยตนว่า ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กโดยมีครอบครัวช่วยปลูกฝังจนถึงวันนี้ และประเภทของหนังสือที่ชื่นชอบสุดๆก็เป็นจำพวกแนวสืบสวนสอบสวนที่ติดตามซื้อ ส่วนกรณีถ้าหากลดหย่อนภาษีได้มากขึ้นเธอบอกไม่ได้มีส่วนทำให้เธอซื้อหนังสือมากขึ้นเท่าใดนัก เพราะเธอจะเลือกซื้อแต่หนังสือที่ชอบเท่านั้น

“ เราได้ใช้ประโยชน์จากการชอบอ่านหนังสือ มันช่วยฝึกระบบจัดเรียงความคิด และมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ อ่ย่างแนวที่ชอบก็พวกสืบสวนสอบสวน ที่ทำให้เราได้คิดตาม มีความสนุกตื่นเต้น และน่าค้นหา ส่วนการหนังสืออย่างอื่นก็จะอ่านได้แต่ไม่ติดตาม เวลามีงานสัปดาห์หนังสือเราก็จะไปเลือกหาซื้อที่ชอบค่ะ เพราะเป็นที่ที่เดียวที่มีหนังสือใหม่ๆที่เราติดตามและซื้อพร้อมๆกันก็ราคาถูก แต่หากมองถึงเรื่องภาษีตรงนี้ยอมรับว่าไม่ได้คิดเท่าไหร่ เพราะส่วนตัวตอนนี้ก็ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย เรื่องค่าหนังสือจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อแต่เป็นประเภทของหนังสือมากกว่า และถ้าหากภาษีหนังสือจะถูกลง ก็อาจจะไม่ได้ทำให้เราซื้อหนังสือมากกว่าเดิมก็ได้ เนื่องจากหนังสือที่เราชอบอ่านจริงๆบางทีก็อาจจะยังไม่ได้ตีพิมพ์ ถึงแม้ถูกลงแต่ถ้าเราไม่ชอบอ่านเรื่องก็อาจจะไม่ซื้อก็เป็นได้”

ที่มา

ส่งงานมอบหมายเรื่องOPAC

คลิกที่นี่น่ะค่ะ

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 3

ซีอีโอเผย ยอดผู้ใช้ 'เฟซบุ๊ก' ทะลุ 500 ล้าน

ยอดผู้สมัครใช้บริการ "เฟซบุ๊ก" ทั่วโลก มีจำนวนทะลุหลัก 500 ล้านคนไปแล้ว จากการเปิดเผยของซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยมดังกล่าว...


สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันที่ 22 ก.ค.ว่า "เฟซบุ๊ก" เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ชื่อดัง ได้มีตัวเลขยอดผู้สมัครเข้าใช้งานทะลุหลัก 500 ล้านคนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

มาร์ค เอลเลียต ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอวัย 26 ปี และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท "Facebook Inc." ผู้ให้บริการเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ชื่อดัง ได้ออกมาแถลงที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทในเมืองพาโล อัลโต มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐฯ โดยระบุว่า ยอดผู้สมัครใช้บริการผ่านทางเว็บไซต์ "facebook.com" ทั่วโลกในขณะนี้ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นจนทะลุหลัก 500 ล้านคนไปแล้ว เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตัวเลขผู้ใช้บริการของเฟซบุ๊กยังอยู่ที่ราว 400 ล้านคน

"ผมไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่า จะมีคนสนใจสมัครใช้บริการของเฟซบุ๊กมากถึงเพียงนี้ และหากมีใครบอกกับผมเมื่อตอนก่อตั้งบริษัทเมื่อ 6 ปีที่แล้วว่า เฟซบุ๊กจะมีคนใช้งานถึง 500 ล้านคน ผมคงจะไม่มีวันเชื่ออย่างแน่นอน" ซัคเคอร์เบิร์ก กล่าว

ซีอีโอของเฟซบุ๊ก อิงก์ ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายยิวรายนี้ ยังแถลงเปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่ล่าสุดที่จะเปิดให้ใช้บริการในเว็บไซต์เฟซบุ๊ก คือ บริการที่เรียกว่า "Facebook Stories" ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆ ได้มากขึ้นเช่นเดียวกับการเขียน "บล็อก" ที่กำลังเป็นที่นิยมในโลกออนไลน์

ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดจากบริษัท "คอมสกอร์ อิงก์" ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำวิจัยด้านการตลาดชื่อดัง ออกมาระบุว่า จำนวนผู้ใช้งานที่แท้จริงของเฟซบุ๊กจนถึงขณะนี้ อยู่ที่ 519 ล้านคนแล้ว และยังคงเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลกในเวลานี้

ที่มา

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 2

การเมืองระอุ "Facebook" ยิ่งเดือด!!!


การเมืองไทยนาทีนี้ร้อนเท่าใด เครือข่ายสังคมออนไลน์บนเฟสบุ๊ก (facebook) ก็ทวีความดุเดือดมากขึ้นเท่านั้น แน่นอนว่าในระดับโลก นี่คือเรื่องปกติที่แนวรบไซเบอร์จะสามารถยึดเฟสบุ๊กเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้อย่างอิสระ แต่สิ่งพิเศษที่เราคนไทยจะสามารถเรียนรู้ได้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คือความสมัครสมานสามัคคี อารมณ์ร่วมรุนแรง และความสามารถในการตรวจสอบพร้อมกดดันของพลังเงียบออนไลน์ ก็มีอิทธิพลไม่แพ้การชุมนุม

นาทีนี้ ประชากรเฟสบุ๊กสัญชาติไทยหลายคนถูกแบ่งเป็นหลายกลุ่มก้อนด้วยการสมัครเป็นแฟน (fan) เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจนในแฟนเพจ (facebook fan page) อย่าง "มั่นใจว่าคนไทยเกิน 1 ล้าน ต่อต้านการยุบสภา" ซึ่งมีผู้ใช้สมัครเป็นแฟนมากกว่า 420,000 คนแล้ว (17.00น. วันที่ 24 เมษายน 2553) บางคนเป็นแฟนของเพจ "รวมพลัง 1 ล้านคน สนับสนุนให้ยุบสภา" ขณะที่หลายคนเป็นแฟนของเพจ "หยุดการกระทำของคนกลุ่มเสื้อสีชมพู" ยังมีเพจ "ไม่เอาเสื้อ เบื่อเต็มทีกับพวกที่ชอบบ่อนทำลายประเทศนี้"


ที่มา

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่1


***เยอรมันลงดาบเฟสบุ๊ก

หน่วยงานพิทักษ์สิทธิข้อมูลเยอมนีลงดาบเครือข่ายสังคมยอดฮิต"เฟสบุ๊ก (Facebook)"จริงจัง ล่าสุดส่งฟ้องเฟสบุ๊กฐานแอบเข้าถึงหรือเก็บข้อมูลผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเฟสบุ๊ก ผลจากคำร้องเรียนนี้ทำให้เฟสบุ๊กอาจต้องจ่ายค่าเสียหายสูงหลายหมื่นยูโรตามกฏหมายรักษาความเป็นส่วนตัว ด้านเฟสบุ๊กนั้นยืนยันว่าได้รับทราบรายละเอียดคำร้องเรียนแล้ว และจะออกคำชี้แจงอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 สิงหาคมนี้

ประธานสำนักงาน Data Protection Authority ของเยอรมนีระบุว่าการร้องเรียนเฟสบุ๊กครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะได้รับคำร้องเรียนจากประชาชนในเยอรมนีจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกเฟสบุ๊ก ว่าถูกดึงข้อมูลส่วนตัวไปแสดงบนเว็บไซต์ของเพื่อนที่เป็นสมาชิกเฟสบุ๊ก ทั้งหมดนี้เป็นการเก็บข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์ทางการตลาด

นี่ถือเป็นการต่อต้านบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อีกครั้งของเยอรมนีหลังจากทางการเมืองเบียร์สั่งสอบสวนกูเกิลอย่างจริงจังในกรณีที่โครงการ Street View ของกูเกิลเผลอเก็บข้อมูลการใช้งานของประชาชนในเครือข่ายไว-ไฟสาธารณะ ทั้งหมดนี้ทางการเยอรมนีระบุว่าต้องกันไว้ดีกว่าแก้

ที่มา

ส่งหัวข้อโปรเจ็คค่ะ











คลิกที่นี่น่ะคับ