วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

“BitDefender” เตือนภัย Facebook Hacker — Application อันตราย

บิทดีเฟนเดอร์ (ประเทศไทย) เปิดเผย Facebook Hacker-Application เป็นโปรแกรมอันตรายที่ทำให้บุคคลที่ไม่หวังดีสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับ usenames และ password สำหรับใช้งานในการ Login จากที่ต่างๆ ได้

ในอดีต Phising เป็นเครื่องมือที่แพร่หลายที่ถูกใช้ในการโจรกรรมข้อมูลจาก cybercriminals หลังจากมีการ login แต่ในปัจจุบัน ได้มีเครื่องมือใหม่ที่ชื่อว่า Facebook Hacker เป็นเครื่องมือที่ได้รับความสนใจจากบุคคลที่ไม่หวังดี ที่ต้องการ password ของบุคคลอื่น โดย เครื่องมือชนิดนี้ สามารถขโมยข้อมูลในการ login ได้โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ ผู้ใช้พิมพ์ข้อความใดๆ ที่เกี่ยวกับ username หรือ password
Facebook Hacker เป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยสามารถทำงานได้โดยบุคคลทั่วไป โดยมีจุดมุงหมายไปที่ กลุ่มที่เรียกกว่า Skiddie ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่ ต้องการเป็น Hacker หรือ พยายามที่เป็น Hacker ผู้ใช้งานสามารถทำได้โดยการระบุ ข้อมูล 2 อย่าง คือ email address และ password เพียงแค่นั้น ข้อมูลที่ถูกขโมยมาก็จะถูกส่งไปยัง email ดังกล่าว

หลังจาก คลิ๊ก ปุ่ม Build server.exe จะสร้างและ ฝังตัวเองลงใน facebook hacker folder ด้วย file เบื้องต้น และ server.exe จะถูกส่งไปยัง กลุ่มเป้าหมายต่อไป

เมื่อมีการ run เครื่องมือนี้ จะทำการดึงข้อมูลสำคัญต่างๆ รวมถึง username และ password ที่ผู้ใช้สั่งให้มีการ save ไว้ที่ browser เพราะ facebook hacker จะมีเป้าหมายที่ ข้อมูลที่ถูกจำไว้ที่ internet browser และ instant message โดยจะสามารถดึงข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ส่วนของ remember password

การที่จะให้การขโมยข้อมูลสำเร็จ malicious binary ที่ประกอบด้วย application ที่สามารถ ดึงข้อมูลจาก web browser ต่างๆ รวมทั้ง instant message นอกเหนือจากนี้ จะแยกข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับ dialup/VPN ที่อยู่ในเครื่อง และแสดง ข้อมูลในการ login ที่ประกอบด้วย username, password, และ domain

เพื่อจะหลีกเลี่ยงการถูกตรวจพบ facebook hacker ยังเข้าไปยัง process ที่เกี่ยวกับ security โดยจะทำการ kill process เมื่อมีการถูกค้นพบ โดยตัวโปแกรมเองจะมี hard code list ที่เกี่ยวกับ process ที่เกี่ยวข้องกับ Antivirus Solution ที่จะทำให้สามารถหยุดการทำงาน ของ antivirus ได้

ที่มา

ส่งงาน E-Journal

คลิกที่นี่คะ

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่งงานสืบค้น E-Books

http://www.thaiebook.org/index.php?tpid=pro:999-99-13-001
http://software.cpc.ku.ac.th/TOI2010/document/manual_TOI2010_30032010.pdf
http://www.kradandum.com/thesis/cai.pdf

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

เฟสบุ๊กเปิดช่อง ตามดูเพื่อน-แฟนเล่นจากไหน

ตอกย้ำเทรนด์แรงยอดนิยมของแอปพลิเคชันประเภท Mobile geo-location application ที่ผู้ใช้จะสามารถแบ่งปันข้อมูลตำแหน่งสถานที่แหล่งช็อปปิ้ง ร้านอาหาร และย่านพักผ่อนที่ได้ไปเยือนกับเพื่อนฝูงและคนรู้จักได้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ล่าสุด เครือข่ายสังคมยักษ์ใหญ่อย่างเฟสบุ๊ก (Facebook) ประกาศร่วมขบวนเทรนด์โลกที่เกิดขึ้นด้วยการเปิดฟีเจอร์ใหม่นามว่า "Facebook Places" ซึ่งจะทำให้สาวกเฟสบุ๊กสามารถเห็นได้ว่าเพื่อนแต่ละคนเล่นเฟสบุ๊กจากที่ใด

ที่สำคัญ เชื่อว่านับจากนี้ เทรนด์โพสต์ข้อมูลตำแหน่งสถานที่กำลังจะแพร่หลายในผู้ใช้อินเทอร์เน็ตวงกว้าง เนื่องจากจำนวนสมาชิกของเฟสบุ๊กที่มีอยู่มากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกในขณะนี้

เฟสบุ๊กระบุว่า บริการ Places นี้จะเปิดให้สมาชิกเฟสบุ๊กสามารถ check in หรือการแจ้งให้ระบบทราบตำแหน่งสถานที่ที่อยู่ของผู้ใช้ แล้วประกาศไว้บนเฟสบุ๊ก โดยเฟสบุ๊กจะนำฟีเจอร์ใหม่นี้ไปอัปเดททั้งแอปพลิเคชันเฟสบุ๊กสำหรับไอโฟน (iPhone) และไอพ็อดทัช (iPod Touch) ก่อนจะขยายไปยังอุปกรณ์พกพาอื่นๆ

ที่สำคัญ เฟสบุ๊กย้ำว่าจุดประสงค์ของการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ครั้งนี้ไม่ใช่การแข่งขันกับบริการ geo-location ที่มีอยู่แล้วในตลาดขณะนี้ทั้ง Yelp, Foursquare, Gowalla และ Booyah เนื่องจากเฟสบุ๊กได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรในการควบรวมบริการเหล่านี้ลงใน Facebook Places

รายละเอียด

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6

เฟสบุ๊กจุดพลุธุรกิจโฆษณาในไทย

เครือข่ายสังคมยอดฮิตอย่างเฟสบุ๊ก (Facebook) ได้ฤกษ์จุดพลุธุรกิจโฆษณาออนไลน์ในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ ดึง“ไอฮับ มีเดีย”เป็นตัวแทนขายโฆษณาผ่านเอเจนซี่เพื่อตอบโจทย์นักการตลาดในประเทศไทย ไอฮับเผยเลือกทำตลาดในไทยก่อนเวียดนามและฟิลิปินส์เพราะเฟสบุ๊กไทยโตเร็วจัด ฟุ้งใช้เฟสบุ๊กทำโฆษณาถึงกลุ่มเป้าหมาย 100%

นาย จอร์จ ฟู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไอฮับ มีเดีย จำกัด (ihub Media Pte Ltd) กล่าวว่า ตัวเลขการใช้งานเฟสบุ๊กที่ใช้เวลาไม่ถึง 2 ปีแต่มียอดใช้งานเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 ล้านรายนั้นทำให้ไอฮับเลือกประเทศไทยเป็นตลาดจำหน่ายโฆษณาบนเฟสบุ๊ก ต่อเนื่องจากการทำตลาดในสิงคโปร์ เซี่ยงไฮ, ฮ่องกง, ไทเป, กัวลาลัมเปอร์ และจาการ์ต้า

“การใช้บริการเฟสบุ๊กในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไอฮับมองว่าตลาดออนไลน์มาเก็ตกิ้งในไทยจะสามารถเติบโตสูงขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ จึงได้มีการเปิดสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพ เพื่อรองรับลูกค้าที่ต้องการทำตลาดบนเฟสบุ๊ก โดยไทยถือเป็นสาขาที่ 7 ของไอฮับในเอเซียแปซิฟิก”

ไอฮับระบุว่าตัวเองเป็นตัวแทนขายโฆษณาบนเฟสบุ๊กรายเดียวในเอเซีย เริ่มต้นทำตลาดในเอเซียตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2551 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ นอกจากเฟสบุ๊ก ไอฮับยังเป็นตัวแทนขายโฆษณาบนเว็บไซด์ชั้นนำอย่างดีสนีย์ ฯลฯ

ประเทศไทยนั้นถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของผู้ใช้บริการเฟสบุ๊กสูงอันดับ 16 ของโลก เพราะเมื่อมองย้อนไปในเดือนมกราคม 52 ประเทศไทยมียอดผู้ใช้บริการเฟสบุ๊กอยู่ที่ 20,000 รายเท่านั้น แต่ปัจุบัน ยอดผู้ใช้บริการเฟสบุ๊กมีจำนวนอยู่ที่ 4.5 ล้านราย จุดนี้ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจหลายรายเริ่มหันมาให้ความสนใจการทำตลาดบนเฟสบุ๊กมากขึ้น

ที่ผ่านมา การโฆษณาบนเฟสบุ๊กในประเทศไทยนั้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะ หนึ่งคือการสร้างแฟนเพจเพื่อดึงผู้ใช้งานเฟสบุ๊กให้เข้ามาทำกิจกรรมหรือรับรู้ข่าวสาร สองคือการทำโฆษณากับเฟสบุ๊กเองในส่วนของ Ad. Space ด้านขวามือของหน้าเฟสบุ๊ก ซึ่งนักโฆษณาสามารถลงทะเบียนได้เอง แต่จะไม่สามารถเลือกได้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใดโดยเฉพาะ

จุดนี้คือสิ่งที่ไอฮับจะมาเติมเต็ม โดยนักโฆษณาจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบไหน ในช่วงเวลาใด โดยจะมีอัตราค่าบริการการลงโฆษณาบนหน้าโฮมเพจ แบบ Homepage Ad. อยู่ที่ 4 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 CPM (cost per 1000 impressions) ซึ่งจะมีอัตราค่าบริการขั้นต่ำอยู่ที่ 12,000 บาท

ในส่วนของ Ad Space จะคิดค่าบริการ 0.3 ดอลลาร์ต่อการคลิก 1 ครั้ง โดยลูกค้าสามารถเลือกรูปแบบการลงโฆษณาได้ทั้งแบบวิดีโอ, โพล์, กิจกรรม และการคลิก “Like” เพื่อเข้าร่วมเป็นแฟนเพจ

ไอฮับระบุว่า เหตุผลที่เลือกทำธุรกิจออนไลน์มาร์เก็ตติงบนเฟสบุ๊กเป็นหลักนั้น เพราะมองว่าการทำโฆษณาบนเว็บไซด์ที่มีอยู่ทั่วไปนั้นเป็นแค่การสื่อสารแบบทางเดียว ที่ลูกค้าสามารถมองเห็นแบนเนอร์ แล้วคลิกเข้าไปที่เว็บไซต์นั้น แต่การทำตลาดบนเฟสบุ๊กเป็นการทำตลาดแบบ 2 ทาง คือนอกจากลูกค้าจะเห็นตัวโฆษณาแล้ว ลูกค้ายังสามารถคลิกเข้ามาเพื่อร่วมเป็นแฟนเพจ สามารถสนทนาร่วมกัน ก่อให้เกิดคอมมูนิตี้ขนาดใหญ่

"เมื่อผู้ใช้เข้าร่วมแฟนเพจ ก็จะแสดงผลบนหน้าเว็บเพจ เมื่อมีเพื่อนเข้ามาเห็น ก็สามารถคลิกต่อได้ไม่รู้จบ"

สำหรับการทำตลาดในไทยนั้น ไอฮับระบุว่าจะเน้นไปที่การเข้าถึงเอเจนซีโฆษณาทั้งหมดที่มีในไทย รวมถึงเจ้าของธุรกิจนั้นๆ โดยตรง เพื่อสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้น เนื่องจากการทำตลาดบนเฟซบุ๊กยังถือเป็นสิ่งใหม่ที่เจ้าของธุรกิจอาจยังไม่ทราบข้อมูล และผลตอบรับที่จะได้จากการทำโฆษณาในลักษณะนี้

"ปัจจุบันหลังจากที่ไอฮับเปิดตลาดในเมืองไทย 3 เดือนเรามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 3-4 ราย อาทิเช่น ซูซูกิ, โซนี และสเมอร์นอฟ โดยจะเน้นหนักไปที่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีงบการโฆษณาสูง และต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง ในปีนี้ไอฮับตั้งเป้ามีรายได้เติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก” จอร์จ ฟู กล่าว

รายละเอียด

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5

เปิดใจชาว Facebook กับภารกิจรัก ‘ในหลวงในดวงใจ’

บนโลกไซเบอร์หลายคนอาจมองว่าหาความจริงใจได้ยากที่จะสร้างมิตรภาพได้อย่าง ยั่งยืน แต่สำหรับในสังคมออนไลน์กลุ่ม Facebook นั้นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน นั่นก็คือการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อในหลวงเป็น เวลาหลายเดือนแล้วที่ชุมชนออนไลน์ในเว็บไซต์ยอดนิยมอย่าง Facebook (เฟซบุ๊ก) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงออกทางสังคมอย่างตรงไปตรงมาเพียงเหตุผลเดียวก็ คือความจงรักภักดีที่มีต่อในหลวง วันนี้มีโอกาสได้ไปพบเจอกับกลุ่มคนออนไลน์เหล่านี้ในงานที่พวกเขาจัดขึ้น เพื่อการแสดงจุดยืนของตนเองที่งาน “ในหลวงในดวงใจ” เลยได้เข้าไปพูดคุยกับตัวแทนของกลุ่มก็คือคุณปีเตอร์ ซึ่งได้เล่าว่า Continue reading 'เปิดใจชาว Facebook กับภารกิจรัก ‘ในหลวงในดวงใจ’'»



รายละเอียด